การเลือกคัดสรรเวย์อย่างถูกต้อง

  1. รายระเอียดโดยรวม

          ตัวอักษรที่ใช้คือ Browallia New ขนาด 14 ยกเว้นเมื่อมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ระยะเว้นขอบกระดาษคือ 1.25 นิ้วหรือ 3.17 ซม. โดยรอบ ข้อความ ตาราง และรูปต่างๆ ควรอยู่ภายในกรอบขอบกระดาษนี้เท่านั้น ความยาวทั้งหมดของบทความต้องไม่เกิน 8 หน้า ใช้ระยะบรรทัด 1 บรรทัด ตลอดบทความ เนื้อหาบทความเป็นสดมภ์ (Column) เดียว จัดบรรทัดแบบชิดขอบ สิ่งที่ควรครอบคลุมในบทความเป็นอย่างน้อยคือ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการทดลอง 4) ผลการทดลองและวิจารณ์ 5) สรุปผลการทดลอง

          1.1. รูปแบบของหัวข้อ หัวข้อระดับที่ 1 ให้ใช้ตัวหนา ขนาด 15 ใช้ตัวเลขโรมันและมีจุดหลังตัวเลข เช่น 1. หัวข้อที่หนึ่ง  เป็นต้น หัวข้อในระดับที่สอง ให้ใช้ตัวธรรมดาแต่ขีดเส้นใต้ เป็นตัวเลขโรมัน และมีจุดหลังเลขเสมอ เช่น 1.1. หัวข้อระดับที่สอง เป็นต้น หัวข้อในระดับที่ 3 ให้ใช้ตัวเลขโรมัน มีจุดหลังเลขเสมอ และเป็นตัวเอียง เช่น 1.1.1. หัวข้อระดับที่สาม เป็นต้น

          1.2. การย่อหน้า ให้บรรทัดแรกของทุกๆ ย่อหน้าเริ่มเข้ามาจากขอบซ้าย 1 ซม. และหากต้องย่อหน้าเข้ามามากกว่า 1 ซม. ให้ระยะที่เข้ามาจากขอบซ้ายหารด้วย 1 ซม. ลงตัว เช่น 2, 3, และ 4 ซม. เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

          เริ่มย่อหน้า 1 ซม. จากขอบซ้าย

                   เริ่มย่อหน้า 2 ซม. จากขอบซ้าย

                            เริ่มย่อหน้า 3 ซม. จากขอบซ้าย

  1. ชื่อบทความและรายละเอียดของผู้แต่ง

ชื่อของบทความให้ใช้ตัวหนา ขนาด 16 จัดให้อยู่กลางบรรทัด และอยู่เป็นบรรทัดแรกของหน้า (ชิดขอบบน) จากนั้นให้เว้นบรรทัดระหว่างชื่อบทความและชื่อผู้แต่ง 1 บรรทัด ขนาด 12 ส่วนชื่อผู้แต่งให้ใช้อักษร Browallia ตัวหนา ขนาด 15 จัดให้อยู่กลางหน้า ท้ายชื่อแต่ละชื่อใส่ตัวเลขโรมันยกระดับ เพื่อเชื่อมโยงกับที่อยู่ที่ทำงาน หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 ท่าน ให้ใส่ลูกน้ำระหว่างชื่อด้วย และให้ใส่เครื่องหมาย*หลังชื่อผู้แต่งที่เป็นผู้ติดต่อหลักด้วย

ที่อยู่ที่ทำงานให้ใช้อักษร Browallia ตัวธรรมดา ขนาด 14 จัดอยู่กลางหน้า และระยะบรรทัดแบบบรรทัดเดียว ใส่เลขโรมันยกระดับด้านหน้าหน้าที่อยู่ที่สอดคล้องกับผู้แต่งด้วย กรุณาระบุเบอร์โทรศัพท์ โทรสาร และ E-mail ที่สามารถติดต่อได้สะดวก

 

  1. บทคัดย่อและคำสำคัญ

บทคัดย่อควรมีเพียงย่อหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 400 คำหรือ 20 บรรทัด อย่างน้อยควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และผลสรุปที่ได้จากงานวิจัย ใช้แบบตัวอักษร Browallia คำว่า บทคัดย่อและ คำสำคัญ:” ที่ต่อจากบทคัดย่อ ให้ใช้ตัวหนา ขนาด 15 ส่วนเนื้อหาของบทคัดย่อให้ใช้ตัวธรรมดาขนาด 14 และใช้ระยะระหว่างบรรทัด 1 บรรทัด ให้เว้น 1 บรรทัดระหว่างที่อยู่ของผู้แต่งและคำว่า บทคัดย่อ ถัดจากเนื้อหาของบทคัดย่อให้เว้น 1 บรรทัด จึงจะเป็นคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ไม่เกิน 5 คำ โดยใส่เครื่องหมาย “;” ระหว่างคำด้วย

 

  1. ตาราง

          ขนาดตารางควรอยู่ภายในกรอบที่เว้นจากขอบกระดาษแล้ว เพื่อเป็นการง่ายต่อการอ้างถึงตารางต่างๆ ควรใส่หมายเลขและคำอธิบายของตารางทุกๆ ตารางด้วย โดยใส่ตัวเลขโรมันและคำบรรยายเหนือตาราง ให้ใส่เครื่องหมาย “:” ระหว่างเลขที่ตารางกับคำอธิบายด้วย ควรจัดตารางและคำอธิบายไว้กลางหน้ากระดาษดังนี้

 

ตารางที่ 1: ตัวอย่างของตาราง

รายการ

จำนวน

หมายเหตุ

 

 

 

 

 

 

 

  1. สมการ

          สมการที่สำคัญๆ ควรมีตัวเลขกำกับเพื่อความสะดวกในการอ้างอิง โดยเรียงลำดับจาก (1) ไปเรื่อยๆ ให้ใส่วงเล็บ () รอบเลขที่สมการ และกำหนดให้เลขที่สมการอยู่ชิดหรือใกล้ขอบกระดาษขวา เช่น

 

                                                                                                      (1)

 

  1. รูปภาพ

          รูปทุกๆ ควรมีคำอธิบายด้านล่างและเลขที่โรมันกำกับรูป เรียงลำดับจาก 1 เรื่อยไป ให้ใส่เครื่องหมาย “:” ระหว่างเลขที่รูปกับคำบรรยายด้วย จะต้องเตรียมรูปแบบการพิมพ์ด้วยความประณีต ควรใช้พื้นขาวหรือสีอ่อน และหมึกสีดำเท่านั้น เพื่อความเหมาะสมต่อการดัดแปลงหรือทำซ้ำในการนำเสนอ สามารถใช้รูปภาพในกรณีที่จำเป็น โดยต้องจัดพิมพ์ให้เหมาะสมและมีความคมชัด หากมีการใช้รูปภาพกรุณาใช้ picture เป็นแบบ enhanced metafile ที่สามารถปรับขนาดได้โดยง่าย

 

 

 

รูปที่ 1: คำบรรยายใต้รูป

 

 

  1. นิยามและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์

          นิยาม (definition)  ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (theorem) พิสูจน์ หรือสิ่งที่คล้ายกัน หากต้องการกล่าวถึงในบทความ ให้กำหนดคำว่า นิยาม” “ทฤษฎี” “พิสูจน์หรือคำอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันเป็นตัวหนา ชิดขอบซ้าย ข้อความของนิยาม ทฤษฎี ฯลฯ ให้ใช้เป็นตัวเอียง ส่วนข้อความของบทพิสูจน์ให้ใช้เป็นตัวอักษรตรงธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น

นิยาม ข้อนิยามหรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ในเชิงวิทยาศาสตร์

 

                                                                                                            (2)

 

พิสูจน์ บทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์

 

  1. 8. การอ้างอิง

          เอกสารอ้างอิงควรเรียงตามตัวอักษร เริ่มจากชื่อผู้แต่งคนแรกหากเป็นเอกสารภาษาไทย และนามสกุลของผู้แต่งคนแรกหากเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เอกสารอ้างอิงทุกเอกสารควรมีรายละเอียดเรียงเริ่มจาก ชื่อผู้แต่ง ปี ชื่อบทหรือบทความ ชื่อหนังสือหรือวารสาร สำนักพิมพ์หรือเล่มที่ และเลขที่หน้า ให้เรียงเอกสารอ้างอิงในบรรณานุกรมจากหมายเลข 1 เรื่อยไป โดยเริ่มจากเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วจึงเริ่มเอกสารภาษาอื่น ให้ใช้เครื่องหมาย “[ ]” รอบเลขที่ของเอกสารอ้างอิงด้วย เช่น [1], [2] เป็นต้น หากเป็นเอกสารทางอินเตอร์เนท ให้ระบุวันที่ที่ทำการค้นหาท้ายเอกสารอ้างอิงนั้นๆ ด้วย ภายในเครื่องหมาย “[ ]” เช่น [2 มีนาคม 2550]

          การอ้างอิงภายในเนื้อหาของบทความให้ใช้ได้สองแบบคือ จะใช้เลขที่ของเอกสารตามบรรณานุกรม เช่น [1], [1-3], และ [1, 3-4] หรือจะอ้างตามผู้แต่ง เช่น เตือนใจ (2550), (เตือนใจ, 2550), (เตือนใจ และ ธนัญญา, 2550), (เตือนใจ และ คณะ, 2550) หรือเมื่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Wasusri (2007), (Wasusri, 2007), (Wasusri and Brown, 2007) และ (Wasusri, et al., 2007) เป็นต้น

 

บรรณานุกรม

[1]    กรมศุลกากร, 2549, ระเบียบการส่งสินค้าขาออก,www.trf.go.th/logistics/export.pdf [20 มกราคม 2549].

[2]    เจริญชัย โขมพัตราภรณ์, ธนัญญา วสุศรี, ปรารถนา ปรารถนาดี, รวิพิมพ์ ฉวีสุข, 2549, "ระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย," การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประจำปีด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 6, 333-344.

[3]    พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล, 2548, การบริหารและการจัดการองค์กรอุตสาหกรรม, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 

[4]    Ballou, R.H., 2004, Business Logistics / Supply Chain Management, 5e, Prentice Hall.

[5]    Pongpornsup, V., Khompatraporn, C., 2006, "Evaluation of Stochastic-Flow Networks using a Reliability Cost Index," Proceedings of the 7th Asian Pacific Industrial Engineering and Management Systems Conference, 691-697.